ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาคอยกวนใจ ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวกับโรคทางดวงตาต่อไปนี้ …
1) ต้อกระจก (Cataract)
เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้เลนส์แก้วตาแข็งและขุ่นขึ้น จึงทำให้สายตาจึงมัวลง อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ สายตามัวหรือเห็นภาพซ้อน จะมัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง เห็นสีผิดไปจากเดิม ตาสู้แสงไม่ได้ ทำให้มีปัญหาในการขับขี่ยานพาหนะโดยเฉพาะกลางคืน
2) ต้อหิน (Glaucoma)
เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา ส่วนใหญ่จะมีความดันลูกตาสูง ซึ่งอาการที่สามารถสังเกตได้ คือจะปวดตา ตามัวลง และเห็นรุ้งรอบดวงไฟ ในกรณีเป็นต้อหินแบบรุนแรงเฉียบพลัน อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยได้ เนื่องมาจากความดันตาสูงมาก
3) จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age – Related Macular Degeneration : AMD)
เกิดจากจุดรับภาพบริเวณกลางจอประสาทตาเสื่อม มักเป็นไปตามวัย พบมากในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งมีความร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น อาการที่สังเกตได้คือมองภาพไม่ชัด มองเห็นบิดเบี้ยว ตาพร่ามัว มีจุดดำหรือเงาตรงกลางภาพ ซึ่งโรคจอประสาทตาเสื่อม ต้องรีบทำการรักษากับจักษุแพทย์โดยเร็ว เพื่อรักษาและช่วยควบคุมไม่ให้ความสามารถทางการมองเห็นแย่ลงจนรบกวนคุณภาพของการใช้ชีวิต