จุดซ่อนเร้นที่คุณผู้หญิงทุกคนให้ความสำคัญและดูแลรักษาเป็นอย่างดี คงหนีไม่พ้นช่องคลอด เพราะเป็นอวัยวะที่สำคัญในร่างกายของสุภาพสตรี ซึ่งวันนี้ .. คลินิกสูตินรีเวช รพ.ราชธานี นำวิธีดูแลสุขภาพช่องคลอด มาฝากคุณผู้หญิง เพื่อจะเริ่มต้นดูแลสุขภาพของช่องคลอดได้อย่างถูกวิธี 1) ทำความสะอาด .. อย่างถูกวิธี ไม่ควรสวนล้างภายในช่องคลอดเนื่องจากทำให้ค่า pH ในช่องคลอดเสียสมดุล ส่งผลให้แบคทีเรียชนิดดีถูกรบกวน และอาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ได้ รวมถึงไม่ควรใช้สบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรงในการล้างภายในช่องคลอดด้วย 2) ร่วมรัก .. อย่างปลอดภัย ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ…
ฮอร์โมนภายในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง .. สามารถนำไปสู่อาการ และพฤติกรรมหลายอย่าง ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคุณผู้หญิง วันนี้ .. คลินิกสูตินรีเวช รพ.ราชธานี รวม 3 สัญญาณเตือน ที่สอดคล้อง กับฮอร์โมนเพศหญิงที่เปลี่ยนแปลง มาแชร์ให้คุณผู้หญิงได้ทราบกัน 1) ประจำเดือนมาไม่ปกติ / ไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้หญิงหลายคน แม้บางครั้งมักจะถูกมองข้ามไป เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบช่วงเวลาที่มีประจำเดือน เนื่องจากคิดว่าไม่ค่อยสะดวกในการใช้ชีวิต 2) ร้อนวูบวาบ…
คุณผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพภายในอย่างสม่ำเสมอ วันนี้ .. คลินิกสูตินรีเวช รพ.ราชธานี มีโรคทางนรีเวชที่พบบ่อย มาแชร์ให้คุณผู้หญิงได้รู้ข้อมูลและป้องกันความเสี่ยงกัน 1) เนื้องอกในมดลูก (Myoma Uteri) สาเหตุของการเกิดโรค เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่มากขึ้นผิดปกติ มักพบมากกับหญิงวัยกลางคน ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร หรือมีโรคอ้วน อาการของโรค มักมีอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติและปวดท้องน้อยร่วมด้วย บางรายที่ไม่แสดงอาการ ต้องรับการตรวจจากสูตินรีแพทย์เท่านั้น การรักษา สามารถรักษาด้วยยาฮอร์โมน และอาจรักษาด้วยการผ่าตัด ในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าจำเป็นหรือมีความเสี่ยงของโรค…
ร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ต่างต้องเสื่อมโทรมและถดถอยไปตามกาลเวลา สายตาของเราก็เช่นกัน การรู้เท่าทัน ‘โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงวัย’ หรือ AMD จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย ปัจจัยด้านใดบ้างที่เสี่ยงให้เกิดโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงวัย .. มาดูกันเลย ! 1) อายุ (age) พบมากในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หากอายุมากกว่า 75 ปี จะมีความเสี่ยงเป็น 3 เท่า (ของกลุ่มที่มีอายุ 65 –…
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาคอยกวนใจ ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวกับโรคทางดวงตาต่อไปนี้ … 1) ต้อกระจก (Cataract) เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้เลนส์แก้วตาแข็งและขุ่นขึ้น จึงทำให้สายตาจึงมัวลง อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ สายตามัวหรือเห็นภาพซ้อน จะมัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง เห็นสีผิดไปจากเดิม ตาสู้แสงไม่ได้ ทำให้มีปัญหาในการขับขี่ยานพาหนะโดยเฉพาะกลางคืน 2) ต้อหิน (Glaucoma) เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา ส่วนใหญ่จะมีความดันลูกตาสูง ซึ่งอาการที่สามารถสังเกตได้ คือจะปวดตา ตามัวลง และเห็นรุ้งรอบดวงไฟ ในกรณีเป็นต้อหินแบบรุนแรงเฉียบพลัน อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยได้ เนื่องมาจากความดันตาสูงมาก 3)…
วันนี้โรงพยาบาลราชธานีรวม 3 วิธีดูแลดวงตาให้ปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 มาฝากกัน 1) ระวังเรื่อง ‘คอนแทคเลนส์’ ควรระมัดระวังในขั้นตอนการใส่ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อ ก่อนใส่คอนแทคเลนส์ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที และเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือที่สะอาด รวมถึงถอดล้างทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ให้ถูกวิธี * หมายเหตุ : American Optometric Association (AOA) ระบุว่า .. ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าคนที่ใส่คอนแทคเลนส์มีความเสี่ยงในการติด COVID-19…
โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส อาจเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดจากภายหลังก็ได้ ในกลุ่มที่เป็นภายหลังชนิดที่พบมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อหัวใจพิการโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งยังสามารถแบ่งได้อีก 3 ชนิด ดังนี้ กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจพิการขยายตัวไม่ดีเท่าปกติ(เกิดจากโรคบางชนิดที่เข้าไปแทรกในกล้ามเนื้อหัวใจ) กล้ามเนื้อหัวใจไม่หนาแต่หัวใจขยายตัวโตขึ้นบีบตัวได้ไม่ดีเท่าปกติโรคนี้ผลจากความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายไม่เพียงพอ ร่างกายจึงปรับตัวโดยเพิ่มขนาดของหัวใจเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่บีบออกจากหัวใจ ทำให้หัวใจผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีขนาดหัวใจที่โตมาก หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า “ Dilated Cardiomyopathy” นั่นเอง แพ็กเกจสุขภาพที่เกี่ยวข้อง การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจบายพาส (CABG) ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (CAG)
รู้หรือไม่ว่า ? ตามสถิติแล้ว ในประชากรทุก 10 คนจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจถึง 4 คน โดยสาเหตุของโรคมักมาจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ (ภาวะที่มีไขมันก่อตัวอยู่บริเวณผนังหลอดเลือด จนส่งผลกระทบต่อการลำเลียงเลือดไปยังหัวใจ) แม้สถิติของโรคหัวใจออกจะน่ากลัวอยู่บ้าง แต่โรคดังกล่าวนี้ป้องกันได้ วันนี้ทางโรงพยาบาลราชธานี มี 3 วิถี หนีให้พ้นโรคหัวใจมาฝากกัน ไปอ่านกันเลย … 1) รู้จักตัวเอง : มีปัจจัยหลายประการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ บางปัจจัยอาจเป็นเรื่องที่คุณไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้…
ทางโรงพยาบาลราชธานี มี 3 พฤติกรรมการกินที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจมาฝาก 1) จำกัดไขมันและโคเลสเตอรอล (เนย มาการีน สารที่ทำให้แป้งกรอบ ครีม เกรวี่) : จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันและอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง อาหารประเภทนี้จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่ไปเกาะตามผนังเส้นเลือด ซึ่งรูของเส้นเลือดแดงจะเล็กลง ทำให้เกิดโรคหัวใจวายหรือโรคอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบ ดังนั้นจึงควรงดบริโภคอาหารประเภทนี้ และเลือกประกอบอาหารโดยใช้น้ำมันพืชชนิดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น 2) ทานเนื้อสัตว์ทีมี่ไขมันต่ำ :…
1) โจ๊กหมูเห็ดหอม ประโยชน์ของเห็ดหอม : ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภุมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ มีกรดอะมิโนชื่อ “อิริทาดีนีน” ซึ่งช่วยให้ไตย่อยคอเลสเตอรอลได้ดี ทำให้ปริมาณไขมันในเลือดและระดับคอเลสเตอรอลลดลง ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ดี 2) ปลาแซลมอนนึ่งมะนาว ประโยชน์ของปลาแซลมอน : อุดมไปด้วยกรดอีโคซะเพนตะอีโนอิกและกรดดีเอชเอ ซึ่งมีส่วนช่วยไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ลดความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก โรคความดันโลหิตและภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้ดี 3) ยำสตรอเบอร์รี่กุ้ง ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่ : อุดมไปด้วยโพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่สามารถช่วยปรับความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้ ยังมีซูเปอร์ไฟเบอร์เพกตินที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล…