Menu Close

Category: Health Blog

3 วิธี ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid)

การฝึกปฐมพยาบาลเบื้องต้น เป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างถูกต้อง วันนี้โรงพยาบาลราชธานีมีแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาฝากกัน เพื่อจะพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เกินขึ้นได้ตลอดเวลา 1) แขนหรือขาหัก ประคบน้ำแข็งหรือยกแขน/ขาขึ้นเหนือหัวใจ หากผู้ป่วยมีแผลเปิด ให้ใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อพันไว้และรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที 2) หัวแตก ใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อหรือผ้าสะอาดกดแผลไว้ 15 นาที (หากเป็นไปได้ให้ล้างมือหรือสวมถุงมือกันเชื้อโรคก่อน) ถ้าบาดแผลมีอาการบวม สามารถบรรเทาได้ด้วยการประคบน้ำแข็ง 3) เป็นลม เริ่มจากการจัดท่าทางให้ผู้ป่วยนอนหงายราบและยกขาขึ้นอยู่เหนือระดับหัวใจ (ประมาณ 30 เซนติเมตร) เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองง่ายขึ้น รวมทั้งปลดเข็มขัด, ปกคอเสื้อหรือเสื้อผ้าส่วนอื่น…

3 เรื่องควรรู้ .. เพื่อเตรียมตัวก่อนรับการผ่าตัด

ผลกระทบจากอุบัติเหตุ บางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดฉุกเฉิน ข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมสำหรับผ่าตัดจึงจำเป็นกับทุกคน ทางโรงพยาบาลราชธานี จึงขอนำเสนอ 3 เรื่องที่ควรรู้ เพื่อเตรียมตัวก่อนผ่าตัด 1) ก่อนผ่าตัด ๐ แจ้งประวัติ เกี่ยวกับโรคประจำตัว การแพ้ยาและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ๐ กรณีเป็นผู้ป่วยหญิง ถ้าตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ ๐ ติดต่อญาติที่บรรลุนิติภาวะ เพื่อรับผิดชอบและดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาล 2) ระหว่างผ่าตัด เมื่อใกล้เวลาผ่าตัด ทีมวิสัญญีแพทย์จะติดอุปกรณ์เพื่อตรวจชีพจร…

3 วิธีการห้ามเลือด ตามหลักการปฐมพยาบาล

ผลกระทบจากอุบัติเหตุส่วนใหญ่ มักทำให้ผู้ประสบเหตุต้องเสียเลือด การห้ามเลือดตามหลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่เสียเลือดมากจนเกิดอันตรายที่ถึงแก่ชีวิต โรงพยาบาลราชธานีจึงขอนำเสนอ 3 วิธีการห้ามเลือด ที่ถูกต้องตามหลักการปฐมพยาบาล 1) การกดบาดแผลโดยตรง เป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลาย เนื่องจากสามารถระงับการไหลของเลือดจากบาดแผลได้อย่างได้ผล ซึ่งวิธีนี้ใช้นิ้วมือกดลงบนบาดแผลโดยตรงหรือใช้ผ้าสะอาดปิดปากแผลแน่น ๆ 2) ยกอวัยวะที่มีบาดแผลให้สูงกว่าระดับหัวใจ เป็นการห้ามเลือดโดยการลดแรงการไหลของเลือดให้ช้าลง ซึ่งควรใช้วิธีนี้ควบคู่ไปกับเทคนิคการใช้แรงกด 3) การขันชะเนาะหรือสายรัดห้ามเลือด วิธีการทำไม่ควรให้ชิดบาดแผลจนเกินไป ไม่รัดแน่นหรือหลวมเกินไป เมื่อรัดแล้วให้ยกปลายแขนหรือปลายขา และคลายสายรัดออกเป็นพัก ๆ *ข้อควรระวัง :…

[EN] มัดรวม 5 บริการ .. ผ่าตัดผ่านกล้องที่รพ.ราชธานี

การผ่าตัดผ่านกล้อง ถือเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง วันนี้ .. รพ.ราชธานี เลยมัดรวม 5 บริการผ่าตัดผ่านกล้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาฝากทุกคนกัน มีอะไรบ้าง ? เลื่อนลงไปอ่านเลย ! 1) บริการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี จากสถิติการรักษาส่วนใหญ่พบว่าการรับประทานยารักษา มักไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากยาไม่สามารถละลายก้อนนิ่วได้หมด ปัจจุบันแพทย์จึงแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีออก ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากกว่า 2) บริการผ่าตัดรักษากรดไหลย้อน ใช้เทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อตกแต่งหูรูดกระเพาะอาหารให้กระชับขึ้น โดยใช้ส่วนด้านบนของกระเพาะอาหารเข้ามาหุ้มส่วนหูรูด 3) บริการผ่าตัดเนื้องอก…

[EN] 3 เรื่องที่ต้องห้าม ‘หลัง’ ผ่าตัด ที่คุณอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน

แม้การผ่าตัดผ่านกล้องจะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็มีข้อควรระวังด้วยเช่นกัน อยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย ! 1) งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด เพราะว่าจะทำให้แผลหายช้าและแผลอาจอักเสบได้ 2) งดการมีเพศสัมพันธ์ เป็นระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังการผ่าตัด (สำหรับการผ่าตัดเพื่อทำการรักษาด้านสูตินรีเวช) 3) หลีกเลี่ยงการขับรถ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7-10 วัน หลังผ่าตัด เพราะอาจจะได้รับแรงกระแทกระหว่างขับรถ…

[EN] สุดยอดเครื่องมือ .. สำหรับการผ่าตัดผ่านกล้อง

โรงพยาบาลราชธานีให้บริการผ่าตัดผ่านกล้อง โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในการผ่าตัดรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากปลอดภัย แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล แล้วเครื่องมือสำหรับการผ่าตัดล่ะ มีอะไรบ้าง ? อยากรู้ .. อ่านด้านล่างได้เลย ! 1) กล้อง Microscope มีอัตรากำลังขยายภาพในจุดที่ทำการผ่าตัดสูงถึง 20-100 เท่า ส่วนการมองของแพทย์นั้น ยังคงมองผ่านกล้องจากภายนอก 2) กล้อง Endoscope…

[EN] สายไหนบ้าง .. เสี่ยง ‘หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท’ ?

คุณกำลังเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงหรือเปล่า ? อย่าปล่อยให้พฤติกรรมด้านลบสร้างปัญหากับสุขภาพของคุณ ว่าแต่ .. สายไหนบ้าง .. ที่มีความเสี่ยงกับอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ? ไปดูพร้อมกันเลย ! 1) สายอ้วนลงพุง การปล่อยให้น้ำหนักตัวมากจนเกินไป จะส่งผลให้หลังต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้หลังแอ่นและกระดูกสันหลังส่วนล่างต้องรับน้ำหนักตลอดเวลา หมอนรองกระดูกจึงมีโอกาสเสื่อมหรือแตกได้ง่ายกว่าคนที่น้ำหนักปกติ 2) สายบ้างาน การนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ โดยเฉพาะคนที่นั่งหลังไม่พิงพนัก หลังงอ ก้มคอ หรือทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท 3)…

[EN] 3 แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยไม่ต้องรับการผ่าตัด

โรคข้อเข่าเสื่อม ถ้ารู้เร็วและรักษาได้ทันเวลา ผู้สูงอายุวัยเก๋าทุกคนก็หายห่วงได้เลย สำหรับใครที่กลัวการรักษาแบบผ่าตัด ไม่ต้องกลัวไป ยังมีวิธีการรักษาแบบอื่น ๆ ด้วยนะ 1) ปรับรูปแบบการใช้ชีวิต ควบคุมน้ำหนักโดยยึดหลักโภชนาการและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในประเภทที่ส่งแรงกระแทกข้อเข่าน้อยเป็นประจำ เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือเดิน เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น 2) กายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เช่น การขยับข้อต่อ (Mobilization) , Hot…

[EN] เจาะลึกอาการโรค ‘ข้อไหล่ติด’ ตลอด 3 ระยะ

โรคข้อไหล่ติด เป็นปัญหากวนใจเรื้อรัง ที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย วันนี้ รพ.ราชธานี มีข้อมูลเชิงลึกของโรคข้อไหล่ติดในระยะต่าง ๆ มาฝากกัน 1) ระยะปวด (Freezing) ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการปวดค่อย ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหว จะปวดมากตอนกลางคืนจนอาจรบกวนการนอน ในระยะนี้มักนาน 2-9 เดือน 2) ระยะข้อติด (Frozen) อาการปวดค่อย ๆ…

[EN] ผู้มีภาวะกระดูกพรุน ควรดูแลตัวเองยังไง ?

ผู้มีภาวะกระดูกพรุน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการวางแผนและให้คำปรึกษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา แต่การดูแลตัวเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันความรุนแรงอาการ รพ.ราชธานี จึงนำเคล็ดลับง่าย ๆ มาฝากผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน มีอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย ! 1) ระวังเรื่องการหกล้ม การล้มเพียงนิดเดียวอาจทำให้กระดูกหักได้ ผู้มีภาวะกระดูกพรุน รวมถึงผู้ดูแล จึงควรจัดของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและระวังเรื่องขั้นบันไดภายในบ้านด้วย 2) หมั่นไปเจอแสงแดด เพื่อช่วยให้ร่างกายเราสังเคราะห์วิตามิน D ได้จากธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้แคลเซียมที่เราได้รับจากอาหารดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีขึ้น…